Last updated: 13 มี.ค. 2567 |
ผู้เขียน ภญ.ผศ.ดร.อาภา เพชรสัมฤทธิ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
หลายท่านอาจเคยสงสัยว่า ไม่กินหวานแล้วนะ ทำไมยังเป็นเบาหวานได้อีก? แท้จริงแล้วการกินหวานเป็นสาเหตุของเบาหวานจริงหรือ?
ทำความรู้จักกับโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเกิดจากตับอ่อนทำงานผิดปกติไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ เมื่อรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นพลังงานในรูปของน้ำตาลกลูโคส โดยอินซูลินจะเก็บน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เนื้อเยื่อต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นพลังงาน ซึ่งหากมีอินซูลินไม่เพียงพอจะทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ (รูปที่ 1) และถูกขับออกมาในปัสสาวะ ผู้ป่วยจึงมีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
สาเหตุของการไม่กินหวาน แต่ก็ยังเป็นเบาหวาน
หากเราสามารถเลี่ยงไม่กินหวานได้แล้วก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ในกรณีต่อไปนี้ (1)
อย่างไรก็ตามอาหารหวานนั้นเป็นเพียงสาเหตุส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงเท่านั้น การออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีปริมาณเพียงพอ เช่น ทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หวานน้อย คอเลสเตอรอลต่ำ มีเส้นใยสูง เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หมั่นตรวจเช็คความดันโลหิตและควรประเมินความเสี่ยงซ้ำสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพร่างกายในเบื้องต้น
มื้อเช้าง่าย ๆ ที่ต้องใส่ใจ
อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำงานที่เร่งรีบในแต่ละวันอาจทำให้การเลือกอาหารมื้อเช้านั้นทำได้ยาก หลายท่านอาจเลือกเป็นอาหารที่หาซื้อง่ายและทานได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นหมูปิ้ง/หมูทอด/ไก่ทอด พร้อมด้วยข้าวเหนียวซักห่อ หรือข้าวกล่องจากร้านสะดวกชื้อ ซึ่งอาหารเหล่านี้มักมีไขมันสูงและมีรสเค็มจัด นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาพบว่าการขาดมื้อเช้าสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (2) ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุด (ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด) มักพบในคนอายุ 30 ปีขึ้นไปและมีประวัติพบผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ในครอบครัว จะดีหรือไม่ หากลองปรับเปลี่ยนโดยการเริ่มต้นวันใหม่ด้วย เครื่องดื่มธัญพืช ทำให้มื้อเช้าของการทำงานที่แสนจะเร่งรีบนั้นง่ายขึ้นและยังอิ่มท้องได้ความหอมอร่อย พร้อมคุณค่าทางอาหารอีกด้วย
เกร็ดความรู้ เบาหวานมีกี่ชนิด
หากแบ่งตามสาเหตุการเกิดโรค จะแบ่งโรคเบาหวานได้เป็น 4 ชนิด (1, 3, 4) คือ
สั่งซื้อสินค้า คลิกเลย
เอกสารอ้างอิง
28 เม.ย 2565
27 มี.ค. 2567
7 ส.ค. 2567
30 ก.ย. 2567